ชุมชนบ้านเมืองแพม

เครดิตภาพ facebook : บ้านเมืองแพม CBT Muang Paem

ชุมชนบ้านเมืองแพม

ตำบล ถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า แม่ฮ่องสอน

หมู่บ้านเมืองแพม เป็นหมู่บ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงหรือปะกาเกอญอ อพยพมาจากสองทาง คือทางใหญ่ ๆ ได้แก่ ทางบ้านแม่ยาน อำเภอปาย และห้วยปูลิง อำเภอเมือง ในราวปี พ.ศ. 2500 และได้รับการรับรองเป็นหมูบ้านอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2504 มีบ้านเรือนแรกตั้งอยู่ 18 หลังคาเรือน ปัจจุบัน (พ.ศ.2555) มีบ้านเรือนอยู่จำนวน 114 หลังคาเรือน ประชากรประมาณ 570 คน บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านเดิมเล่ากันว่า ชาวลัวะอาศัยอยู่มาก่อน ดูจากซากเมืองเก่า บริเวณเจดีย์เก่า วังปลา ตรงข้ามถ้ำห้วยไร่ และเหนือถ้ำห้วยไร่ และมีการย้ายถิ่นฐานช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะทหารญี่ปุ่นใช้เป็นเส้นทางเดินทัพไปพม่า หลังจากลัวะออกไป มีชาวไทใหญ่ โดยอาศัยอยู่บริเวณสบห้วยปลามุงลงมาถึงบริเวณบ้านเมืองแพมในปัจจุบัน ระบบนิเวศ บ้านเมืองแพม ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามไหล่เขา ปัจจุบันตั้งหมู่บ้านอย่างถาวรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 และมีระบบการผลิตข้าวแบบนาดำ (นาขั้นบันได) ควบคู่กับการทำไร่ข้าวทั้งข้าวไร่และไร่หมุนเวียน หมู่บ้านมีอาณาเขตที่ชัดเจน เป็นสิทธิตามวิถีการผลิตแบบดั้งเดิมที่มีมาก่อนการประกาศพื้นที่เป็นป่าสงวนหรือเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ระบบการผลิตยังเป็นการผลิตแบบยังชีพ เพื่อกินเพื่ออยู่เป็นการปลูกพืชไว้กินเอง เลี้ยงสัตว์ไว้กิน มีการปลูกผักไว้กิน หาเก็บผักจากป่า การจับปลาในลำห้วย พืชหลักคือข้าว พื้นที่ทำกิน 1) ที่นา เป็นการทำนาขั้นบันไดโดยการอาศัยน้ำฝน เริ่มทำนาช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2) “ไร่หมุนเวียน”เป็นการจัดการที่ดินเป็นแปลงเพื่อการเพาะปลูก ครัวเรือนละ 4-5 แปลง เพื่อดำเนินการเพาะปลูกพืชผักที่หลากหลายในพื้นที่บริเวณเดียวกันในฤดูการผลิตนั้น และเมื่อเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวในแปลงที่เพาะปลูกแล้วจะย้ายไปเพาะปลูกหมุนเวียนไปแปลงอื่น และดำเนินการเช่นเดียวกันลักษณะนี้ หมุนเวียน 5 ปี แล้วจึงกลับมาที่แปลงเดิม 3) ข้าวไร่ การทำไร่เริ่มทำช่วงเดือนมีนาคม พันธ์ข้าวที่ใช้ 1.บือเพอคำหรือบือหล่อโข่บอ2.บือเชียงดาว3.บือเอาะส่า 4) สวน (พืชผัก)มีการปลุกกล้วย ข้าวโพด เสาวรส สับปะรด ตะไคร้ ขิง ข่าและผักต่างๆ วัฒนธรรมประเพณี ชาวปกาเกอะญอบ้านเมืองแพม มีประเพณีท้องถิ่นนที่ถือปฏิบัติกันมาช้านาน ทั้งที่เป็นประเพณีประจำในรอบปีที่ทำในหมู่บ้าน และประเพณีที่ทำในพื้นที่ทำกิน ประเพณีในพื้นที่ทำกิน 1) เลี้ยงหัวฝาย ทำในระหว่างเดือน 6 เดือน 7 จะทำปีละครั้ง เป็นการขอโทษและขอพรจากผีป่า ผีแม่น้ำ เพื่อขอให้ดูแลน้ำ และข้าว ให้อุดมสมบูรณ์ จะไม่ทำรวมกันทั้งหมู่บ้าน จะทำเฉพาะผู้ที่ใช้น้ำเหมืองที่เดียวกันเท่านั้นและที่สำคัญจะไม่ทำพิธีวันเดี่ยวกับยี่โข่ 2) เลี้ยงผีไร่ ผีนา ภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า“ แซ่คึแซ่ฉี่ “ ทำในช่วงเดือน 8 โดยต้องให้ฮี่โข่ เป็นคนเลี้ยงก่อน แล้วคนอื่นค่อยเลี้ยงได้ 3) กินข้าวใหม่ “ อ่อบื่อโข่ “ ทำระหว่างเดือน 10 - 12 ทำบ้านใครบ้านมัน มัดมือก่อนตีข้าว “ กี่ลอจือ“ ทำในช่วงเดือน 1 เดือน 2 หลังจากนำข้าวมาถึงบ้านแล้ว ตำ ต้มเหล้า เรียกคนเฒ่าคนแก่มาให้พร เพื่อขอบคุณผู้ที่ให้ผลผลิต เจ้าของไร่ เจ้าของนา เป็นคนทำ 4) พิธีเลี้ยงผีน้ำ หรือผีเจ้าที่ เนื่องจากในการเจ็บป่วยที่มีการสันนิฐานว่าผิดผีอะไร เช่น ผีน้ำ ผีป่า ผีเจ้าที่ ประเพณีในหมู่บ้าน 1) พิธีมัดมือ ภาษากะเหรี่ยงเรียก “ กี่จือ “ จะทำพิธีในช่วงเดือน 2 พิธีมัดมือจะทำในวันขึ้น 13 ค่ำ และขึ้น 14 ค่ำ ของเดือน โดยมีผู้นำหมู่บ้าน (ยี่โข่) เป็นหลักในการทำพิธี 2) ป่าสะดือ หรือกะเหรี่ยงเรียก “ เดปอ” ทำช่วงเด็กเกิด เอารกเด็กใส่กระบอกไม้ไผ่ ไปผูกไว้กับต้นไม้ (ดูลักษณะของต้นไม้ที่ดี) เชื่อว่าขวัญจะอยู่กับต้นไม้นั้น หากใครตัดต้นไม้นั้น ต้องเอาไก่ ให้พ่อแม่เด็ก เพื่อทำพิธีมัดมือให้เด็กคนนั้นปัจจุบันไม่มีแต่สามารถเป็นเรื่องเล่าได้ 3) พิธีเรียกขวัญ หรือกะเหรี่ยงเรียก “ ก๊อเก่อลา” โดยหมอผีเป็นคนทำพิธี โดยไปเรียกขวัญกับต้นไม้แก่ แล้วมามัดมือให้กับผู้เรียกขวัญ 4) ประเพณีแต่งงาน มีประเพณีในการนับญาติฝ่ายหญิงเป็นหลัก ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายไปขอฝ่ายชาย เพราะถือว่าฝ่ายหญิงเป็นผู้สืบเชื้อสายบรรพบุรุษเป็นผู้ปกครองในการตั้งหลักปักฐาน 5) ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ การขึ้นบ้านใหม่จะขึ้นเดือนไหนก็ได้ ยกเว้นเดือน เมษายน ที่ไม่มีการขึ้นบ้านใหม่ เพราะเป็นเดือนที่ไม่ดี 6) พิธีเลี้ยงเจ้าเมือง การเลี้ยงเจ้าเมืองจะมีการเลี้ยงปีละ 1 ครั้ง ก่อนที่จะลงพืชผลการเกษตร 7) ประเพณีขึ้นปีใหม่ จะมีการขอขมาปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ และขึ้นวัด ซึ่งจะตรงกับปีใหม่ไทย จุดเด่น และกิจกรรมท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว ภายในหมู่บ้านเมืองแพม • ศึกษาสถาปัตยกรรมของบ้าน การแบ่งพื้นที่ใช้สอย วัสดุการสร้างบ้าน • ภูมิปัญญาชาวบ้านในเรื่องทอผ้า จักสาน สมุนไพร นิทาน-บทเพลง รอบนอกหมู่บ้าน • เขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา เป็นการจัดการในการแบ่งโซนการหาปลา ห้ามมิให้ชาวบ้านมาหาในบริเวณนี้ เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลพันธุ์ปลา อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ชาวบ้านในเขตเมืองแพมและใกล้เคียงสามารถหาปลาเป็นอาหารได้ตลอดปี • ป่าชุมชน เป็นป่าไม้ที่ชาวบ้านอนุรักษ์ไว้ มีพันธุ์ไม้หลากหลายและเคยมีพิธีบวชป่ามาแล้ว 2 ครั้ง • โป่งหลวง เป็นพื้นที่ ๆ มีดินโป่งเป็นแหล่งอาหารสัตว์ป่าหลายชนิด และยังเป็นที่พักของบรรดาควายที่ชาวบ้านปล่อยให้หากินในป่า • ไร่หมุนเวียน นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้เรื่องความหลากหลายของอาหารและภูมิปัญญาในการจัดการพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน • ถ้ำยาว เป็นถ้ำที่มีความยาว 500 ม. ภายในถ้ำมีน้ำตกขนาดเล็ก , กุ้ง , ค้างคาว และตั๊กแตนสีเขียว อาศัยอยู่ในถ้ำ • ถ้ำเจดีย์ เจดีย์มีฐานกว้าง 2 เมตร สูง 2.5 เมตร อดีตเจดีย์ยอดหาย ชาวบ้านเรียก "เจดีย์กุด" มี พระสว่าง ( พระที่เคยจำพรรษาอยู่ที่วัดเมืองแพม ) ไปดำเนินการต่อยอดเจดีย์ ให้สมบูรณ์ แต่ไม่กลมกลืนสอดคล้องกับสภาพเดิม กิจกรรมท่องเที่ยว กิจกรรมท่องเที่ยว ได้แก่ 1) การเดินชมหมู่บ้าน 2) การเยี่ยมชมบ้านภูมิปัญญาต่าง ๆ 3) การเรียนรู้งานหัตถกรรมด้วยการลงมือทำ อาทิ การจักสาน การทอผ้า การปักลาย 4) การทำกิจกรรมกับเด็กนักเรียนในชุมชน 5) การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ 6) การศึกษาเรื่องไร่หมุนเวียน 7) ศึกษาระบบนิเวศถ้ำ (อยู่ระหว่างการศึกษา) 8) การหาปลากับชาวบ้าน 9) การล่องแพน้ำแพม

สถานที่ในจังหวัด: แม่ฮ่องสอน

รีวิวสถานที่

เคยไปที่นี่มาแล้วหรือเปล่า? เขียนรีวิวให้คนอื่นอ่านได้นะ

ช่องทางการติดต่อ

เบอร์โทร

แนะนำสถานที่โดย

เยลลี่ ฮานะ

เยลลี่ ฮานะ

เป็นสมาชิกเมื่อ 05/03/2021

5,514

แต้มในระบบ

1

ผู้ติดตาม

1

กำลังติดตาม

ตำแหน่งบนแผนที่

รูปภาพจากสมาชิก

ยังไม่มีใครเคยเพิ่มรูปขึ้นมา ลองเพิ่มเป็นคนแรกดูไหมล่ะ?

จัดทริปผ่านแอปฯ

จัดทริปผ่านแอปฯ

เหมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวเวลาไปเที่ยว

แจ้งปัญหาสถานที่นี้

  • แจ้งปัญหาสถานที่นี้
    แจ้งละเมิดลิขสิทธิ์
  • ข้อมูลผิด/ข้อมูลซ้ำ
    ข้อมูลผิด/ข้อมูลซ้ำ

แชร์ข้อมูลหน้านี้ให้เพื่อน

เพิ่มที่เที่ยว
 

มีอีกหลายที่ที่คนอื่นยังไม่รู้จัก
เราอยากชวนคุณมาร่วมแนะนำที่เที่ยวด้วยกัน

เจอที่เที่ยวใหม่? หรืออยากช่วยเพิ่มข้อมูลสถานที่ หรืออยากแนะนำร้านค้าช่วยเจ้าของกิจการคนอื่นๆ คุณเพิ่มเองได้

เพิ่มที่เที่ยว
ททท.กาญจนบุรีชวนเที่ยวเมืองกาญกับแพ็กเกจ เที่ยว 3 สไตล์สาย Green