ศาลพันท้ายนรสิงห์

ศาลพันท้ายนรสิงห์

ตำบล พันท้ายนรสิงห์

ศาลพันท้ายนรสิงห์เป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีลูกศิษย์ลูกหาแวะมาตลอดทุกวัน นอกจากนั้นยังมีตลาดอยู่ข้างบริเวณศาลด้วย ตอนนี้เป็นสถานที่ที่มีพื้นที่กว้างขวาง มีที่จอดรถ มีตลาดขายของ และมีสถานที่ให้ทำบุญหลายอย่าง ด้วยความที่พ่อพันท้ายได้รับการยกย่องนับถือเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ไม่กลัวชีวิตจะหาไม่ จึงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลัง ด้านหลังของศาลเป็นหลักประหาร มีศาลเจ้าแม่ตะเคียน ศาลกุมารทอง และมีคลองให้ปล่อยปลาได้ครับ เรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ เนื้อความเป็นไปในแบบเดียวกัน ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ใน พ.ศ. 2247 (จุลศักราช 1066) สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ประพาสปากน้ำสาครบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร) เพื่อทรงเบ็ดด้วยเรือพระที่นั่งเอกชัย มีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้าย ตามหลักฐานชุมนุมพระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกไว้ว่า ทันท้ายนรสิงห์เป็นชาวบ้านนรสิงห์แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ และเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 จนทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้รับราชการรับใช้พระองค์อย่างใกล้ชิด การเสด็จประพาสปากน้ำสาครบุรีครั้งนั้น เมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขาม คลองในบริเวณดังกล่าวมีความคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งอย่างระมัดระวัง แต่ไม่อาจหลบเลี่ยงอุบัติเหตุได้ หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ใหญ่หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์รู้โทษดีว่า ความผิดครั้งนี้ถึงประหารชีวิตตามโบราณราชประเพณี ซึ่งกำหนดว่าถ้าผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหักผู้นั้นถึงมรณะโทษให้ตัดศรีษะเสีย จึงกราบทูลพระกรุณาน้อมรับโทษตามพระราชประเพณี สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) ทรงพิจารณาเห็นว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นการสุดวิสัยมิใช่ความประมาท จึงพระราชทานพระอภัยโทษให้ แต่พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมทูลยืนยันขอให้ตัดศรีษะตนเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมพระราชกำหนดกฎหมายเป็นการป้องกันมิให้ผู้ใดครหาติเตียนพระเจ้าอยู่หัวว่าทรงละเลยพระราชกำหนดของแผ่นดิน และเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไปพระองค์ทรงโปรดให้ฝีพายทั้งปวงปั้นมูลดินเป็นรูปพันท้ายนรสิงห์ แล้วให้ตัดศรีษะรูปดินนั้นเป็นการทดแทนกัน แต่พันท้ายนรสิงห์ยังกราบบังคมทูลยืนยันขอให้ประหารตน แม้สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 จะทรงอาลัยรักน้ำใจพันท้ายนรสิงห์เพียงใด ก็ทรงจำพระทัยปฏิบัติตามพระราชกำหนดดำรัสสั่งให้เพชรฆาตประหารพันท้ายนรสิงห์เสีย แล้วโปรดให้ตั้งศาล สูงประมาณเพียงตา นำศรีษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกชัยซึ่งหักนั้น ขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาล ข้อมูลจาก เว็บไซต์ ประวัติศาลพันท้ายนรสิงห์

สถานที่ในจังหวัด: สมุทรสาคร

รีวิวสถานที่

Jiraporn Thepkumgun

Jiraporn Thepkumgun

รีวิวเมื่อ 05/12/2022

แหล่งท่องเที่ยวอิงประวัติศาสตร์ เชิงอนุรักษ์ ที่จอดรถเยอะ

ช่องทางการติดต่อ

เบอร์โทร
เว็บไซต์
วันเวลาทำการ

แนะนำสถานที่โดย

พี ปากเกร็ด

พี ปากเกร็ด

เป็นสมาชิกเมื่อ 09/12/2019

10,056

แต้มในระบบ

36

ผู้ติดตาม

20

กำลังติดตาม

ตำแหน่งบนแผนที่

รูปภาพจากสมาชิก

รูปภาพที่ 1
รูปภาพที่ 2
รูปภาพที่ 3
รูปภาพที่ 4
รูปภาพที่ 5
รูปภาพที่ 6
รูปภาพที่ 7
รูปภาพที่ 8

+1

รูปภาพที่ 9
จัดทริปผ่านแอปฯ

จัดทริปผ่านแอปฯ

เหมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวเวลาไปเที่ยว

แจ้งปัญหาสถานที่นี้

  • แจ้งปัญหาสถานที่นี้
    แจ้งละเมิดลิขสิทธิ์
  • ข้อมูลผิด/ข้อมูลซ้ำ
    ข้อมูลผิด/ข้อมูลซ้ำ

แชร์ข้อมูลหน้านี้ให้เพื่อน

เพิ่มที่เที่ยว
 

มีอีกหลายที่ที่คนอื่นยังไม่รู้จัก
เราอยากชวนคุณมาร่วมแนะนำที่เที่ยวด้วยกัน

เจอที่เที่ยวใหม่? หรืออยากช่วยเพิ่มข้อมูลสถานที่ หรืออยากแนะนำร้านค้าช่วยเจ้าของกิจการคนอื่นๆ คุณเพิ่มเองได้

เพิ่มที่เที่ยว