กาญจนบุรีเป็นสถานที่แห่งความทรงจำอันเจ็บปวดของเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและครอบครัว ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อพวกเขาต้องตกระกำลำบากกลายเป็นแรงงานทาสของจักรวรรดิญี่ปุ่น บ้างก็ต้องเอาชีวิตมาทิ้งไว้ที่นี่ และหนึ่งในสถานที่สำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ดังกล่าวก็คือ “ช่องเขาขาด” การที่คนไทยเรียกพื้นที่จุดนี้ว่า “ช่องเขาขาด” ก็มาจากลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏของมันเอง ส่วนที่ชาวตะวันตกขนานนามพื้นที่แห่งนี้ว่า “ช่องไฟนรก” นั้น ร็อด บีตตี (Rod Beattie) จากศูนย์เส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า อธิบายกับ Smithsonian Channel ว่า หลังจากที่มีการวางรางรถไฟไว้สองด้านรอไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว “พวกเขา [ทหารญี่ปุ่น] ต้องการให้มันเสร็จสักทีก็เลยจัดแรงงานไว้สองกะ กะละ 12 ชั่วโมง เป็นกะกลางวันกับกะกลางคืน การจะทำงานตอนกลางคืนได้ก็ต้องมีแสง พวกเขามีหลอดไฟส่องสว่างอยู่บ้าง แต่แหล่งแสงสว่างส่วนใหญ่มาจาก ‘ไฟ’ คนกลุ่มนี้ [เชลยศึก] ส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์ ซึ่งตอนเด็กพวกเราต่างก็ถูกปลูกฝังด้วยภาพของนรกที่ประกอบด้วยปีศาจและไฟนรก ‘ไฟนรก’ จึงกลายมาเป็นชื่อของช่องทางนี้ก็ด้วยภาพของกองเพลิงยามค่ำคืน และฝูงชนที่ต้องทำงานเยี่ยงทาสเบื้องหน้าปีศาจ” ข้อมูลจากเว็บไซต์ silpa-mag
เครดิตภาพ Wongnai.com
ช่องเขาขาด
สถานที่ในจังหวัด: กาญจนบุรี