ชุมชนอัมพวานับเป็นชุมชนต้นแบบของขนมไทย เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณภาพ สามารถเป็นวัตถุดิบในการผลิตขนมไทยภายในชุมชนได้เป็นอย่างดี มีลักษณะเป็นห้องที่กว้างพอสมควร ในเรือนทรงไทยหลังหนึ่งในพื้นที่อุทยาน ร.๒ ในห้องที่กว้างต่อเนื่องกันแบ่งออกเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนก็มีการจัดหมวดหมู่ของขนมและอาหารไทยๆ ซึ่งเป็นของจำลองหรือของปลอมนั่นเอง แต่การทำอาหารปลอมเหล่านี้มีฝีมือดีทีเดียว เรียกได้ว่ามองผิวเผินจะเหมือนของจริงมากจนอยากจะจับดูให้รู้ว่าของจริงหรือของปลอมกันแน่ด้วยซ้ำ ยุคสมัยของขนมไทย "ขนมต้ม" ขนมไทยที่มีความเก่าแก่ พบการกล่าวถึงขนมชนิดนี้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง เรียบเรียงเป็นภาษาไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.1888 ขนมต้มทำได้ง่ายโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ได้แก่แป้ง มะพร้าว น้ำตาล ขนมต้มมี 2 ชนิดคือ ขนมต้มขาวและขนมต้มแดง "ขนมต้มขาว" ลักษณะเป็นแป้งลูกกลมๆ ข้างในใส่ไส้มะพร้าว เคี่ยวน้ำตาล ส่วน "ขนมต้มแดง" ไม่มีไส้ ทำเป็นแผ่นกลมขนาดเล็กต้มให้สุก คลุกน้ำตาลนับเป็นความอร่อยอย่างเรียบง่ายของคนไทยในยุคอดีตที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน
เครดิตภาพ พิพิธภัณฑ์ขนมไทย อัมพวา
พิพิธภัณฑ์ขนมไทย
สถานที่ในจังหวัด: สมุทรสงคราม
รีวิวสถานที่
เคยไปที่นี่มาแล้วหรือเปล่า? เขียนรีวิวให้คนอื่นอ่านได้นะ
ช่องทางการติดต่อ
เบอร์โทร
034-751-666
วันเวลาทำการ
- วันจันทร์:09:00 - 17:00
- วันอังคาร:09:00 - 17:00
- วันพุธ:09:00 - 17:00
- วันพฤหัสบดี:09:00 - 17:00
- วันศุกร์:09:00 - 17:00
- วันเสาร์:09:00 - 17:00
- วันอาทิตย์:09:00 - 17:00