"วัดก้ำก่อ" (ก้ำก่อภาษาไทยใหญ่แปลว่า "ดอกบุนนาค")ตามประวัติกล่าวว่าวัดก้ำก่อสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ . ศ 2433 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 13 ค่ำเ เดือน 2 ปีขาล จ . ศ . 1252 โดยเจ้าอาวาสรูปแรกของวัด นามว่า '' ครูบาเฒ่า '' ชาวไทใหญ่ผู้อพยพมาจากเมืองเชียงทอง เป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดนี้ขึ้น ชาวบ้านทั่วไปขนานนามท่านว่า '' ตุ๊เจ้าเจียงตอง '' ( ออกเสียงตามภาษาพื้นเมือง ) หมายถึงพระที่มาจากเมืองเชียงของนั่นเอง ประวัดการก่อตั้งวัดก้ำก่อพอจะสรุปได้ว่าเมื่อครั้งที่ครูบาเฒ่าอพยพมาจากเมืองเชียงทองเข้ามาสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนนั้น ท่านได้เดินทางมาจนพบที่ว่างขนาดครึ่งสนามฟุตบอลอยู่ท่ามกลางป่าไม้ล้อมรอบ สามารถสร้างวัดได้โดยไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่าหรือทำการปรับพื้นที่ให้ ๆ อีกจึงได้ชักชวนชาวบ้านมาดูและตัดสินใจสร้างวัดขึ้นในที่นั้น โดยชาวบ้านเป็นผู้หาวัสดุก่อสร้างและลงแรงกันเอง วัดก้ำก่อมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบไทใหญ่ คือมีการสร้างวัดโดยฝีมือของช่างชาวไทใหญ่ที่ได้เข้ามาอาศัยและได้ศรัทธาในวัดนี้ วัดก้ำก่อมีสิ่งปลูกสร้างที่โดดเด่น คือมีซุ้มประตูทางเข้าไปสู่ศาลาการเปรียญ หรือที่เรียกว่า "ส่างหว่าง" เป็นเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของอาคารทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดแม่ฮ่องสอนตามแบบสถาปัตยกรรมไต(ไทใหญ่) จะมีเฉพาะอาคารวัดเท่านั้นไม่มีในอาคารบ้านเรือนของชาวบ้านทั่ว ๆ ไป ในสมัยก่อนเมื่อจะเข้าไปในวัดชาวบ้านจะนิยมถอดรองเท้าไว้แล้วเดินเข้าวัดทาง "ส่างหว่าง" เนื่องจากเชื่อกันว่าถ้าสวมรองเท้าเข้าไปในวัดนอกจากจะไม่เคารพสถานที่แล้ว เวลาเดินออกจากวัดนั้นยังจะมีดินมีทรายติดรองเท้าไปด้วยถือว่าเป็นบาปมาก และเพื่อไม่ให้นำสิ่งสกปรก สิ่งไม่ดีไม่งามทั้งหลายเข้าไปในวัดและในขณะเดียวกันก็จะไม่เอาอะไรออกจากวัดไป ดังนั้นเมื่อเรายืมสิ่งของจากวัดเช่น ถ้วย จาน ฯลฯ ของวัดไปใช้ในงานบุญต่าง ๆ แล้ว เวลาส่งคืนวัดหากสิ่งของใดขาดไปต้องรีบเอาสิ่งนั้นในบ้านมาใช้แทนหรือไม่ก็ซื้อใหม่มาใช้แทนทันที โดยจะถือว่าสิ่งของของตนไปอยู่ในวัดดีกว่าสิ่งของในวัดมาอยู่ในบ้านของตน ส่างหว่างเป็นสถาปัตยกรรมไต (ไทใหญ่) ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2484 โดยนายส่วยจิ่ง นางยุ้น ตรีทอง เป็นเจ้าศรัทธาสร้างถวาย สิ่งสำคัญภายในวัด ประกอบด้วย 1. พระประธาน พระสังฆราชองค์ปัจจุบันเป็นผู้ประทานให้วัด 2. พระมัณฑะเลย์ ย้ายมาจากอุโบสถหลังวิหารวัดพระนอน จเรหม่องเจ้าศรัทธาและได้นำมาประดิษฐ์ไว้ที่วัดก้ำก่อเมื่อ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 2509 โดยมีหลวงพ่อกุงหม่า (กมล)กุสโลภิกขุและพระมหารักษ์ สุภิญโญ ได้อัญเชิญนำมาประดิษฐ์ไว้ ณ วัดก้ำก่อ รวมอายุประมาณ 80 ปี 3. พระสาน (อายุประมาณ 114 ปี) ศรัทธาแม่เฒ่าจางย้อย เช่าบูชามาจากมัณฑะเลย์ประเทศพม่านำมาถวายเป็นองค์ประธาน ณ วัดก้ำก่อ ตั้งแต่เริ่มสร้างวัด 4. พระหินอ่อนทรงเครื่อง ศรัทธา คุณบุญชู คุณปริศนา ตรีทอง นำมาจากประเทศพม่า เพื่อถวายให้ประดิษฐ์อยู่ที่วัดก้ำก่อเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2533 5. ธรรมาสน์เก่าแก่ ศรัทธาพ่อเฒ่าจองติยะ นางโหย่ง ถวายเมื่อเริ่มสร้างวัด รวมอายุประมาณ 114 ปี 6. พระหินดำ เป็นศิลปกรรมมาจากอังวะ (เอว่า) เช่ามาจากร้านขายของเก่าบริสุทธิ์แอนติก อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2539 7 . โบสถ์ สร้างขึ้นเมื่อ 8 มกราคม พ.ศ. 2533 ใช้ในการประกอบศาสนพิธีของคณะสงฆ์ เป็นโบสถ์ที่ผสมผสานศิลปแบบไทใหญ่ และพม่า 8 . ศาลาปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ขนาดบรรจุ ผู้ปฏิบัติธรรมได้ไม่น้อยกว่าครั้งละ 100 คน สร้างเมื่อ 10 มีนาคม 2519 9 . ศาลาสุวรรณสมบูรณ์ สร้างขึ้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2516 ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา รวมทั้งใช้เก็บศพ และสวดพระอภิธรรม 10 . โรงครัว สร้างเมื่อ 19 ธันวาคม 2529 ใช้ในการทำอาหารเพื่อนำมาเลี้ยงในงานหรือพิธีต่าง ๆ 11 . กุฏิรับรองหลังใหญ่ ใช้บรรจุผู้มาเยือน และพักอาศัยได้ครั้งละไม้น้อยกว่า 50 คน 12 . กุฏิรับรองหลังเล็ก ใช้บรรจุผู้มาเยือน และพักอาศัย 13 . กุฏิพระครูปัญญาวราภรณ์ ลักษณะเป็นตึกแถว มีห้องนอนห้องน้ำห้องส้วมเป็นสัดเป็นส่วน สร้างเมื่อ 17 สิงหาคม 2531 14 . กุฏิสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ท่านเคยเสด็จมาพำนักและนำพระประธาน ขนาดหน้าตัก 60 นิ้ว ปาง "มารวิชัย" ไปประธานให้เป็นมิ่งขวัญแก่วัด เมื่อ 14 พ.ย. 2520 และ 14 ก.พ. 2532 15 . ศาลาหลวงปู่โต เป็นที่ประดิษฐ์สถานรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) และรูปเหมือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปิยมหาราช สร้างเมื่อ 16 มีนาคม 2532 นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 053 612 226
เครดิตภาพ ททท.สำนักงานแม่ฮ่องสอน
วัดก้ำก่อ
สถานที่ในจังหวัด: แม่ฮ่องสอน